Skip to content

KUBET – วันเช็งเม้ง 2568 ทำความสะอาด “ฮวงซุ้ย” สุสานปู่ย่าตายาย

วันเช็งเม้ง 2568 ทำความสะอาด "ฮวงซุ้ย" สุสานปู่ย่าตายาย

อ่านให้ฟัง

09:17อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

เช็งเม้ง หรือ เทศกาลเช็งเม้ง เป็นอีกหนึ่งวันสำหรับของคนไทยเชื้อสายจีน ลูกหลานที่แยกย้ายไปทำงาน จะเดินทางกลับมารวมตัว เพื่อไหว้ “สุสาน” หรือ “ฮวงซุ้ย” ของบรรพบุรุษ

“เช็งเม้ง” ตามสำเนียงแต้จิ๋ว ในภาษาจีนแยกเป็น “เช็ง” หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ “เม้ง” หมายถึง สว่าง เมื่อนำมารวมกันแล้วหมายถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาในฤดูใบไม้ผลิของจีน ต้นไม้ใบหญ้าเขียวชอุ่มสวยงาม จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการไปไหว้บรรพบุรุษ ณ ที่ฝังศพ แทนการไหว้ป้ายวิญญาณในบ้าน

“วันเช็งเม้ง” ถือวันที่ 5 เม.ย. เป็นหลักของ “เทศกาลเช็งเม้ง” เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 – 8 เม.ย. รวม 7 วัน ปัจจุบันเนื่องจากมีปัญหาการจราจร สุสานต่าง ๆ จึงขยายช่วงเวลาของเทศกาลเช็งเม้งให้ยาวขึ้น คือ ประมาณ 15 มี.ค. – 8 เม.ย.

ในวันเช็งเม้ง ธรรมเนียมปฏิบัติที่ลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีนทำนั้น คือ ทำความสะอาดสุสานบรรพบุรุษ ตกแต่งสุสานให้ดูใหม่ กราบไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ มีการ กินอาหารไหว้ร่วมกันเป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังลาของไหว้ จุดประทัดเพื่อเป็นสิริมงคล

เหตุผลที่ต้องมีวันเช็งเม้งนั้น เพราะชาวจีนแต่ก่อนจะไม่เผาร่างของผู้เสียชีวิตแต่จะฝังแทน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าแม้จะตายแต่วิญญาณยังอยู่ ดังนั้นจึงมีการไหว้อาหารและข้าวของเครื่องใช้จำเป็น เสมือนให้พวกท่านได้ไปใช้ในอีกภพภูมิ

การเตรียมของไหว้และปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างถูกต้องถือเป็นสิ่งสำคัญ นั้นเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษ แล้วมีขั้นตอนและการปฎิบัติอย่างไร ดังนี้

อ่านข่าว : “เช็งเม้ง” วันไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน มีความสำคัญอย่างไร

1.ทำความสะอาดและตกแต่งสุสาน 

การทำความสะอาดสุสานเป็นการแสดงความเคราพต่อบรรพบุรุษ 

  • ตัดหญ้า กวาดใบไม้ และเก็บขยะบริเวณสุสาน
  • เช็ดทำความสะอาดป้ายชื่อ หรือศิลาแกะสลัก
  • หากตัวอักษรจางลง อาจใช้สีเติมหรือเน้นตัวอักษรใหม่
  • เปลี่ยนกระถางธูปและจัดดอกไม้ใหม่
  • นำกระถางธูปและเชิงเทียนมาทำความสะอาด
  • จัดดอกไม้ใหม่เพื่อความสดชื่นและเป็นสิริมงคล
  • จัดเตรียมของไหว้และกระดาษเงินกระดาษทองเพื่อแสดงความเคารพ
  • จุดธูปไหว้และเผากระดาษ และต้องคำนึงถึงความปลอดภัย

2.กราบไหว้เจ้าที่

กราบไหว้เจ้าที่ เป็นการให้เกียรติและขอบคุณที่ช่วยดูแลสุสาน เตรียมของไหว้เช็งเม้งให้ครบ ส่วนของที่ใช้ไหว้เจ้าเหมือนกันกับของไหว้เจ้าตรุษจีน

3. กราบไหว้ระลึกถึงบรรพบุรุษ  

อาหารไหว้ เช่น หมู เป็ด ไก่ ผลไม้ ขนมเปี๊ยะ ธูปเทียน ใช้สำหรับไหว้และอธิษฐาน กระดาษเงินกระดาษทอง แทนเงินทองเพื่อส่งให้บรรพบุรุษ น้ำชา หรือเหล้า สำหรับรินถวาย อย่างไรก็ตาม เครื่องไหว้ต่าง ๆ อาจแล้วปรับให้เข้ากับยุคสมัย และความสะดวกของผู้ไหว้ และความเชื่อของแต่ลละครอบครัว 

4.พิธีไหว้และเผากระดาษเงิน กระดาษทอง เริ่มโดยผู้อาวุโสในครอบครัวนำลูกหลานกราบไหว้ ลูกหลานตีวงล้อมรอบบริเวณที่เผา เผากระดาษเงิน กระดาษทองและของใช้กระดาษ จุดประทัดเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดี 

5.หลังเสร็จสิ้นลูกหลานจะร่วมกันกินอาหารร่วมกัน อาหารที่ไหว้เสร็จแล้วจะถูกแบ่งกันรับประทาน เป็นช่วงเวลาที่สมาชิกครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน สุดท้ายจุดประทัด เพื่อความเป็นสิริมงคลในเทศกาลเช็งเม้ง

วันเช็งเม้ง ไม่ใช่แค่วันไหว้บรรพบุรุษ แต่เป็นวันที่ทุกคนในครอบครัวกลับมาพบหน้ากัน และร่วมกันดูแลสุสาน “ฮวงซุ้ย” ให้สะอาดและเป็นระเบียบ เป็นการให้เกียรติระลึกถึงปู่ย่าตายาย 

เช็งเม้ง มากกว่าพิธีกรรม คือความผูกพัน 

มุมมองของลูกหลานเชื้อสายจีนที่มีต่อประเพณีอาจแตกต่างกันไปตามยุคสมัย คนรุ่นเก่า อย่าง อากง อาม่า และพ่อ แม่ อาจมองว่าเป็นหน้าที่ของลูกหลาน ที่ต้องสืบทอดและแสดงความกตัญญู และเชื่อว่าการดูแลฮวงซุ้ยให้สะอาดและเป็นระเบียบจะนำพาสิริมงคลและความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ครอบครัว และวันนี้ยังเป็นโอกาสให้ครอบครัวได้กลับมาพบกันและแสดงความรักต่อกัน

ขณะที่ในมุมมองของลูกหลานเชื้อสายจีนยุคใหม่ กลุ่มที่ยังให้ความสำคัญกับเช็งเม้ง อาจมองว่าเป็นวันรวมญาติและเป็นโอกาสได้รำลึกถึงบรรพบุรุษ เชื่อว่าการไหว้บรรพบุรุษเป็นสัญลักษณ์ของการแสดงความเคารพ แม้อาจไม่ได้เชื่อเรื่องโชคลาง แต่ก็ยังคงปฏิบัติตามประเพณีเพื่อรักษาสายสัมพันธ์ครอบครัว

กลุ่มที่เริ่มห่างจากประเพณี อาจมองว่าเช็งเม้งเป็นภาระหรืออาจรู้สึกว่าเป็นพิธีกรรมที่ล้าสมัย หลายคนต้องทำงานหรืออยู่ไกลจากบ้าน ทำให้ไม่มีเวลาร่วมพิธี บางคนเห็นว่า ความกตัญญูไม่จำเป็นต้องแสดงออกผ่านพิธีกรรม แต่สามารถแสดงออกได้ผ่านความรักและการทำดี

ความเปลี่ยนแปลงของการดูแลฮวงซุ้ย ในปัจจุบันบางครอบครัวเลือกใช้บริการทำความสะอาดฮวงซุ้ย แทน เนื่องจากไม่มีเวลาหรืออยู่ไกล ใช้เทคโนโลยี เช่น วิดีโอคอลเพื่อให้คนที่อยู่ไกลสามารถร่วมพิธีได้  

คนรุ่นใหม่มอง “เช็งเม้ง” อย่างไร

“เช็งเม้งคือโอกาสปีละครั้งที่ทำให้ได้กลับบ้านเกิดของปู่ ย่า ทุกคนในครอบครัวมารวมตัวกัน ไม่ใช่แค่ทำพิธีไหว้ แต่ยังเป็นช่วงเวลาที่ได้เล่าความหลัง ใช้เวลาร่วมกัน เป็นบรรยากาศที่อบอุ่นไม่ลืม  

มนัช กราฟิกดีไซเนอร์ อายุ 31 ปี ลูกครึ่ง ไทย-จีน ครอบครัวทางแม่เชื้อสายไทย ส่วนทาง ป๊า (พ่อ) เป็นคนจีนลุ่มแม่น้ำมาจากเมืองฝูโจว ประเทศจีน ที่มีบ้านอยู่ทางภาคใต้ของไทย ตัว มนัชเองเกิดและเติบโตที่กรุงเทพฯ

ตั้งแต่จำความได้ทุกปิดเทอมใหญ่ช่วงปลายเดือน มี.ค. มนัชจะเดินทางไป อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช เพื่อร่วมงาน “เช็งเม้ง” กับครอบครัวฝั่งพ่อเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันทุกปี บ้านอาผ่อ (คุณย่า) คือศูนย์รวมของญาติ ๆ และเมื่อไปถึง สิ่งแรกที่ต้องทำคือไปไหว้อากุ๊ง (คุณปู่) ที่ฮวงซุ้ยใกล้วัดในตลาดบน

ก่อนวันไหว้ ญาติ ๆ จะรวมตัวกันไปทำความสะอาดฮวงซุ้ย มีการทาสี ขัด ถู เตรียมพื้นที่ให้พร้อม หลังจากนั้นเด็ก ๆ รวมถึงก่อก๊อ (พี่ชาย) และจีจี้ (พี่สาว) จะช่วยกันพับกระดาษเงินกระดาษทอง เตรียม “เงินพันล้าน หมื่นล้าน” เป็นปึกไว้สำหรับเผา

เช้าวันไหว้ ผู้ใหญ่จะเริ่มเตรียมอาหารกันตั้งแต่ยังไม่สว่าง ในบ้านมีแต่เสียงพูดคุยภาษาจีนสำเนียงท้องถิ่น ซึ่งฟังไม่เข้าใจ อาหารถูกบรรจุลงปิ่นโตและภาชนะหลายสิบชุด  รวมถึงเครื่องดื่มต่าง ๆ น้ำชา กาแฟ น้ำอัดลมนำทั้งหมดไปที่ฮวงซุ้ย ผู้ใหญ่จะช่วยกันทำความสะอาดอีกครั้ง ส่วนเด็กมีหน้าที่ปักธงสี โปรยกระดาษและดอกไม้รอบ ๆ ฮวงซุ้ย  

พิธีเริ่มต้นด้วยการไหว้เจ้าที่และบรรพบุรุษ จุดประทัด เผากระดาษเงินกระดาษทอง และเมื่อเสร็จพิธี ทุกอย่าง อาหาร และขยะ จะถูกเก็บกลับบ้านเพื่อรับประทานอาหารที่ใช้ไหว้ร่วมกัน

นับเป็นความสุขสมัยเด็กอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ จนถึงตอนนี้แม้จะต้องมีฮวงซุ้ยของอาผ่อและป๊าเพิ่มแล้วด้วยนั้น ก็ยังคิดว่า “เช็งเม้ง” นอกจากจะเป็นการไปหาป๊าในรอบปี ก็นับว่าเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งในการพบปะญาติพี่น้องครั้งใหญ่ครั้งเดียวในทุก ๆ ปี

วันเช็งเม้ง ไม่ใช่แค่วันไหว้บรรพบุรุษ แต่เป็นวันที่ทุกคนในครอบครัวกลับมาพบกัน ร่วมกันดูแลสุสาน “ฮวงซุ้ย” ให้สะอาด เพื่อเป็นการให้เกียรติและระลึกถึง ปู่ ย่า ตา ยาย  

อ่านข่าว : รู้และเข้าใจ “เอชไอวี” รู้เร็ว รักษาเร็ว ป้องกันได้

เช็กอย่างไร “ทำประกัน” อะไรไว้บ้าง

“เจ้าสัวแห่งราชวงศ์จักรี” ร.3 ผู้ทรงนำพาความมั่งคั่งสู่แผ่นดิน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *