วันนี้ (15 มี.ค.2568) นายสิริวัฒน์ ไชยชนะ อุปนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุแผ่นปูนจากโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ตกทับคนงานบาดเจ็บและเสียชีวิต ว่า จากการตรวจสอบสภาพที่เกิดเหตุและสภาพแวดล้อมโดยรอบ พบว่าขั้นตอนการเทคอนกรีตบนพื้นทางด่วนดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว
คาดการณ์ว่า เบื้องต้นอาจเกิดจากตัวโครงเหล็กที่เป็นแม่แบบ Temporary Structure ขยับตัว ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่เกิดจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของดิน ทำให้การรับน้ำหนักเกิดการเอียง จนตัวแม่แบบหลุดและถล่มลงมา
แต่หลังจากนี้ก็ต้องรอให้เจ้าหน้าที่เคลียร์พื้นที่ให้เรียบร้อยก่อน จึงจะเข้าตรวจโดยละเอียดอีกครั้ง หากตรวจสอบระดับดินแล้วพบว่า อยู่ในสภาพปกติก็ต้องกลับไปมาดูที่ตัวโครงสร้างว่าสภาพเสาค้ำยันปกติหรือไม่ เพราะบางครั้งมีการผิดพลาดแค่เพียง 1 เซนติเมตร ก็เกิดการเอียงจนถล่มได้
ส่วนการรื้อถอน โครงสร้างที่ถล่มลงมานั้นต้องมีการวางแผนโดยฝ่ายรื้อถอนที่มีความชำนาญว่าจะต้องเริ่มต้นจากส่วนไหนก่อน เพราะโครงสร้างมีลักษณะพิงกันกันอยู่ เพื่อป้องกันการถล่มซ้ำ
สำหรับการค้นผู้สูญหายในขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ยุติการค้นหาเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากให้อุปกรณ์ตรวจไม่พบสัญญาณชีพ และตรวจสอบกับทางญาติยืนยันไม่มีใครสูญหาย ทำให้เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 5 คน บาดเจ็บ 30 คน
อ่านข่าว:
เปิดไทม์ไลน์ คานเหล็กสะพานถนนพระราม 2 ถล่ม
แนะใช้ ถ.สุขสวัสดิ์ หรือกาญจนาภิเษกแทน เลี่ยงเส้นทางคานเหล็กถล่มพระราม 2
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
- วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
- สะพานยกระดับพระราม3 ถล่ม
- โครงการทางพิเศษสายพระราม3-ดาวคะนองวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 3
- ทางพิเศษสายพระราม3-ดาวคะนองวงแหวนรอบนอก
- สะพานถล่ม
- สะพานถล่มพระราม 2
- สะพานพระราม3
- ทางยกระดับถล่ม
- คานเหล็กทางยกระดับถล่ม
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
- ข่าววันนี้
- ข่าวอาชญากรรม